Learn more about technology
บทความ
Hybrid learning
Hybrid learning

ปฏิวัติวิธีการศึกษาใหม่ด้วยระบบ

" HYBRID LEARNING "

Hybrid Learning คือ

    Hybrid Learning (การเรียนรู้แบบไฮบริด หรือ การเรียนแบบผสมผสาน) เป็นรูปแบบการศึกษาที่มีนักเรียนบางคนเข้าเรียนแบบตัวต่อตัวในห้องเรียนและ ในขณะที่มีนักเรียนอีกกลุ่มเข้าร่วมชั้นเรียนแบบ Online หรือ Virtual จากที่บ้าน คุณครูจะสอนนักเรียนทั้งในห้องเรียนและนักเรียนOnline ไปพร้อมๆกันโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับการประชุมทางไกล

    ในบางครั้ง การเรียนแบบ Hybrid Learning นี้สามารถนำเทคนิคของการสอนแบบใช้บทการสอนที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เช่น วีดีโอที่บันทึกการสอนไว้ล่วงหน้า หรือ แบบฝึกหัดออนไลน์ ส่งให้นักเรียนทั้งในกลุ่มในห้องเรียนและกลุ่ม Online ได้เรียนหรือทำแบบฝึกหัดไว้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งเรียกว่าเป็นการเรียนแบบ “Asynchronous Learning” ในทางกลับกันเมื่อถึงเวลาการสอนที่นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วม ทั้งนักเรียนในห้องเรียน และ นักเรียน Online ที่ต้องเข้าเรียนพร้อมกัน หรือที่เรียกว่า “Synchronous Learning” ครูผู้สอนสามารถนำหัวข้อการเรียนรู้ดังกล่าวมาอธิบายเพิ่มเติมหรือให้นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มร่วมทำกิจกรรมในหัวข้อการเรียนรู้ดังกล่าวตามเทคนิคของ Active Learning ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนแบบ Hybrid Learning ได้ ดังนั้นการเรียนแบบ Hybrid Learning นี้จะให้ประสบความสำเร็จ องค์ประกอบของหลักสูตรควรได้รับการเตรียมและปรับแต่งให้เหมาะกับการสอนทั้งแบบในห้องเรียนและแบบOnlineในเวลาเดียวกัน ซึ่งการเรียนแบบนี้ประโยชน์อีกด้านคือการศึกษาสามารถเข้าถึงผู้เรียนจำนวนมาก

ความแตกต่างของ Hybrid Learning และ Blended Learning

โดยปกติคนทั่วไปมักจะสับสน และเข้าใจผิดกันระหว่างคำศัพท์ 2 คำนี้ Hybrid Learning และ Blended Learning ซึ่งการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันดังนี้


    Blended Learning เป็นการสอนแบบตัวต่อตัวหรือแบบในห้องเรียนปกติด้วยการนำ โดยการนำเทคนิค Asynchronous Learning มาผสมผสาน กล่าวคือมีการให้นักเรียนแบบฝึกหัดออนไลน์และศึกษาจากดูวิดีโอการในช่วงเวลาว่างของนักเรียนเอง


    Hybrid Learning เป็นวิธรการสอนที่ครูผู้สอนสอนทั้งแบบตัวต่อตัว หรือ ในห้องเรียน ไปพร้อมกับกับการนักเรียน Online ในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจนำเทคนิคของ Asynchronous Learning มาเป็นส่วนสนับสนุนการสอนแบบ Synchronous Learning ซึ่งนักเรียนทั้ง ในห้องเรียนและนักเรียน Online มาเรียนพร้อมกัน

Hybrid Learning

ประโยชน์ของ Hybrid Learning


1. ให้ความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ (A Flexible Learning Experience)
    มีหลายสถาบันการศึกเริ่มเตรียมตัวเข้าสู่ระบบ Hybrid Learning เพื่อสร้างความยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็น ตารางเรียนที่ยืดหยุ่น วิธีการสอนที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพิ่มความยืดหยุ่นต่อการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนต่างๆให้กับนักเรียนไม่จำกัดแต่ในโรงเรียน ความยืดหยุ่นในการสอนหรือทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักเรียนด้วยกันและครูผู้สอน และ นักเรียนที่ไม่สามารถมาเข้าเรียนในห้องเรียน Hybrid Learning ยังทำให้นักเรียนสามารถเรียนได้จากที่บ้านได้


2. เพิ่มโอกาสในการทำกิจกรรมร่วมกันของผู้เรียน
    การเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกัน Hybrid Learning เป็นอีกคำตอบของการสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ การทำกิจกรรมร่วมกันของผู้เรียน ทั้งนักเรียนในห้องเรียนและนักเรียน Online


3. เพิ่มอิสรเสรีภาพแห่งการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
    การเรียนรู้ออนไลน์ ณ.ปัจจุบันผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นผู้เรียนสามารถจัดการตนเองเพื่อการเรียนรู้อย่างไม่มีข้อจำกัด ไม่ว่า จะเป็นสถานที่ที่เขาชอบ อิสระในการทบทวนบทเรียนได้ทุกเวลา ไม่จำกัดจำนวนครั้ง อีกทั้งยังสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน กิจกรรมกลุ่ม (Group discussion) ทั้งนี้เกิดขึ้นตามความพอใจของผู้เรียน ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้เรียนเอง


4. เพิ่มประสิทธิภาพของการสอน
    เนื่องการสอนที่แตกต่างไปจากเดิมไม่ว่าจะเป็นการสอนในห้องเรียนตามปกติเดิม หรือ การสอนแบบOnline ก็ตาม ครูผู้สอนแบบ Hybrid Learning นั้นจะต้องจัดเตรียมวางแผนต่างๆ ตั้งแต่กำหนดหลักสูตร เนื้อหา กำหนดตารางเวลาสอนแต่ละเนื้อหา หรือแม้แต่เนื้อหา อุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้สอน เพื่อให้เหมาะกับการสอนแบบ Hybrid Learning นี้ ดังนั้นทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรทางด้านบุคคล เวลา เครื่องมือ ต่างๆจะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ทั้งนี้จะเห็นว่ายุคโควิด นี้ทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาได้ในหลายส่วนโดยเฉพาะแวดวงการศึกษา หากท่านสนใจเรื่อง Hybrid Learning สามารถส่งความคิดเห็นมาได้ ทางผู้เขียนจะทำการ update ข้อมูลเรื่องนี้ต่อไป ซึ่งติดตามได้จาก facebook เพจ projector007

ผู้เรียบเรียง : ดร. ปวินท์ เทพกุณหนิมิตต์

เอกสารอ้างอิง

1.) https://resources.owllabs.com/blog/hybrid-learning